วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

เรื่องที่ 7 องค์ประกอบศิลป์(Composition)


องค์ประกอบศิลป์(Composition) หรือเรียกว่า ส่วนประกอบของการออกแบบ(Elements of Design)
.
          หมายถึง การนำสิ่งต่างๆ [เส้น,สี,ค่าน้ำหนัก,รูปร่าง-รูปทรง,พื้นผิว] มาบูรณาการเข้าด้วยกันตามสัดส่วน ตรงตามคุณสมบัติของสิ่งนั้นๆ 
          เพื่อให้เกิดผลงานที่มีความเหมาะสม โดยต้องคำนึงถึงปัจจัย ต่อไปนี้
                      1. รูปแบบที่สร้างสรรค์
                      2. ความงามที่น่าสนใจ
                      3. สัมพันธ์กับประโยชน์ใช้สอย 
                      4. เหมาะสมกับวัสดุ
                      5. สอดคล้องกับการผลิต
          องค์ประกอบศิลป์ ประกอบไปด้วย
                      1. เส้น 
                      2. สี 
                      3. ค่าน้ำหนัก 
                      4. รูปร่าง-รูปทรง 
                      5. พื้นผิว 

1. เส้น (line) 
ความหมายและความสำคัญของเส้น   ลักษณะของเส้น 

ความหมายและความสำคัญของเส้น
     ความหมายของเส้น 
        เส้น คือ ร่องรอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด  หรือถ้าเรานำจุดมาวางเรียงต่อ ๆ กันไปก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น
เส้นมีมิติเดียว  คือ  ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขตของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก  สี  
ตลอดจนกลุ่มรูปทรงต่าง ๆ รวมทั้งเป็นแกนหรือ โครงสร้างของรูปร่างรูปทรง 
       

เส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด เส้นสามารถให้ความหมาย แสดงความรู้สึก แสดงอารมณ์ได้ด้วยตัวเองและด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้น 

        เส้นมี 2 ลักษณะคือ เส้นตรง   (Straight Line) และ เส้นโค้ง   (Curve Line)
เส้นทั้งสองชนิดนี้ เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่าง ๆ กัน จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ และให้ความหมาย ความรู้สึกที่แตกต่างกันอีกด้วย

    ความสำคัญของเส้น 
    1. ใช้ในการแบ่งที่ว่างออกเป็นส่วน ๆ 
    2. กำหนดขอบเขตของที่ว่าง หมายถึง  ทำให้เกิดเป็นรูปร่าง (Shape) ขึ้นมา 
    3. กำหนดเส้นรอบนอกของรูปทรง ทำให้มองเห็นรูปทรง (Form) ชัดขึ้น 
    4. ทำหน้าที่เป็นน้ำหนักอ่อนแก่ ของแสดงและเงา หมายถึง การแรเงาด้วยเส้น 
    5. ให้ความรู้สึกด้วยการเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูป และโครงสร้างของภาพ

 2. สี (color)
ความเป็นมาของสี   ที่มาและความสำคัญของสี   สีกับความรู้สึก   ชนิดของสี


 ความเป็นมาของสี

                        ในอดีตมนุษย์ได้ค้นพบสีจากแหล่งต่าง ๆ  จากพืช  สัตว์  ดิน และแร่ธาตุนานาชนิด มาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง
              โดยนำมาระบายลงไปบนสิ่งของ ภาชนะเครื่องใช้ รวมไปถึงการใช้สีวาดลงไปบนผนังถ้ำเพื่อใช้ถ่ายทอดเรื่องราว 
              และใช้สีทาตามร่างกายเพื่อกระตุ้นให้เกิดความฮึกเหิม หรือใช้สีเป็นสัญลักษณ์ในการถ่ายทอดความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง


  ในสมัยเริ่มแรก มนุษย์รู้จักใช้สีเพียงไม่กี่สี ซึ่งเป็นสีที่พบทั่วไปในธรรมชาติ ต่อมาเมื่อทำการย่างเนื้อสัตว์
              “ไขมันหรือน้ำมัน” ที่หยดจากการย่างลงสู่ดินทำให้ดินมีสีสันน่าสนใจ สามารถนำมาระบายลงบนวัตถุและติดแน่นทนนาน
              ดังนั้นไขมันจึงได้ทำหน้าที่เป็นส่วนผสม (binder) ซึ่งมีความสำคัญในฐานะเป็นสารชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของสี
              ทำหน้าที่เกาะติดผิวหน้าของวัสดุที่ถูกนำไปทาหรือระบาย

                     นอกจากไขมันแล้ว ยังได้นำไข่ขาว, ขี้ผึ้ง(Wax), น้ำมันลินสีด(Linseed), กาวและยาไม้
(Gum arabic),
              เคซีน (Casein : ตะกอนโปรตีนจากนม) และสารพลาสติกโพลีเมอร์(Polymer) มาใช้เป็นส่วนผสม ทำให้เกิดสีชนิดต่าง ๆ ขึ้นมา

องค์ประกอบของสี แสดงได้ดังนี้
เนื้อสี (รงควัตถุ)      +    ส่วนผสม    =    สีชนิดต่าง ๆ 
(Pigment)               (Binder)            (Color)

                         ในสมัยต่อมา เมื่อมนุษย์เริ่มมีคตินิยมในการรับรู้ และชื่นชมในความงามทางสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics)
              สีได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางและวิจิตรพิสดาร มีการประดิษฐ์ คิดค้น และผลิตสีใหม่ ๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก
              ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความงามอย่างไม่มีขีดจำกัด โดยมีการพัฒนามาเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง


 3.ค่าน้ำหนัก (Value)
ความหมายของค่าน้ำหนัก+แสงและเงา   ความสำคัญของค่าน้ำหนักและการแรเงา



ความหมายของค่าน้ำหนัก+แสงและเงา

ความหมายของค่าน้ำหนัก
          ค่าน้ำหนัก คือ ค่าความอ่อนแก่ของบริเวณที่ถูกแสงสว่างและบริเวณที่เป็นเงาของวัตถุ หรือความเข้ม-อ่อนของสีหนึ่งๆ หรือหลายสี
เช่น สีแดง มีความเข้มกว่าสีชมพู นอกจากนี้ยังหมายถึงระดับความเข้มของแสงและระดับ ความมืดของเงา ซึ่งไล่เรียงจากมืดที่สุด (สีดำ)
ไปจนถึงสว่างที่สุด (สีขาว) น้ำหนักที่อยู่ระหว่างกลางจะเป็นสีเทา ซึ่งมีตั้งแต่เทาแก่ที่สุด จนถึงเทาอ่อนที่สุด
การใช้ค่าน้ำหนักจะทำให้ภาพดูเหมือนจริง และมีความกลมกลืน ถ้าใช้ค่าน้ำหนักหลาย ๆ ระดับ จะทำให้มีความกลมกลืนมากยิ่งขึ้น
และถ้าใช้ค่าน้ำหนักจำนวนน้อยที่แตกต่างกันมาก จะทำให้เกิด ความแตกต่าง ความขัดแย้ง

แสงและเงา (Light & Shade)
         เมื่อแสงส่องกระทบกับวัตถุจะทำให้เกิดเงา แสงและเงาเป็นตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนัก ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่กับความเข้มของแสง
ในที่ที่มีแสงสว่างมาก เงาจะเข้มขึ้น และในที่ที่มีแสงสว่างน้อย เงาจะไม่ชัดเจน ในที่ที่ไม่มีแสงสว่างจะไม่มีเงา และเงาจะอยู่ในทางตรงข้ามกับแสงเสมอ



ค่าน้ำหนักของแสงและเงาที่เกิดบนวัตถุ สามารถจำแนกเป็นลักษณะที่ ต่าง ๆ ได้ดังนี้

         1. บริเวณแสงสว่างจัด(Hi-light) เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด จะมีความสว่างมากที่สุด ในวัตถุที่มีผิวมันวาวจะสะท้อน
              แหล่งกำเนิดแสงออกมาให้เห็นได้ชัด
         2. บริเวณแสงสว่าง(Light) เป็นบริเวณที่ได้รับแสงสว่าง รองลงมาจากบริเวณแสงสว่างจัด เนื่องจากอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงออกมา
              และเริ่มมีค่าน้ำหนักอ่อน ๆ
         3. บริเวณเงา(Shade) เป็นบริเวณที่ไม่ได้รับแสงสว่าง หรือเป็นบริเวณที่ถูกบดบังจาก แสงสว่าง ซึ่งจะมีค่าน้ำหนักเข้มมากขึ้นกว่าบริเวณแสงสว่าง
         4. บริเวณเงาเข้มจัด(Hi-Shade) เป็นบริเวณที่อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด หรือเป็นบริเวณที่ถูกบดบังมากๆ หลายๆชั้น
              จะมีค่าน้ำหนักที่เข้มมากไปจนถึงเข้มที่สุด
         5. บริเวณเงาตกทอด เป็นบริเวณของพื้นหลังที่เงาของวัตถุทาบลงไป เป็นบริเวณเงาที่อยู่ภายนอกวัตถุ และจะมีความเข้มของค่าน้ำหนักขึ้นอยู่กับ
              ความเข้มของเงา น้ำหนักของพื้น หลัง ทิศทางและระยะของเงา

ความหมายของค่าน้ำหนัก+แสงและเงา   ความสำคัญของค่าน้ำหนักและการแรเงา


 ความสำคัญของค่าน้ำหนักและการแรเงา

ความสำคัญของค่าน้ำหนัก
          1. ให้ความแตกต่างระหว่างรูปและพื้น หรือรูปทรงกับที่ว่าง
          2. ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว
          3. ให้ความรู้สึกเป็น 2 มิติ แก่รูปร่าง และความเป็น 3 มิติแก่รูปทรง
          4. ทำให้เกิดระยะความตื้น - ลึก และระยะใกล้ - ไกลของภาพ
          5. ทำให้เกิดความกลมกลืนประสานกันของภาพ

เราสามารถสร้างค่าน้ำหนักให้ภาพโดยการแรเงา
          การแรเงาน้ำหนักเป็นการสร้างเงาในภาพ ให้ดูมีความลึกมีระยะใกล้ไกลและดูมีปริมาตร เปลี่ยนค่าของรูปร่างที่มีเพียง 2 มิติให้เป็น 3 มิติ ทำให้รูปร่างที่มีเพียงความกว้าง-ยาวเปลี่ยนค่าเป็นรูปทรงมีความตื้นลึกหนาบางเกิดขึ้น ความตื้นลึกหนาบางนี่เป็นความรู้สึกเท่านั้น และการทำให้เกิดภาพเช่นนี้ก็คือ เทคนิคในการสร้างภาพลวงตา (ILLUSION) เป็นวิธีการสร้างสรรค์งานศิลปะอย่างหนึ่ง


แนวคิดในการแรเงา
          เรามองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ เพราะอาศัยแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ หรือต้นแสงจากแหล่งกำเนิดอื่น เมื่อมีแสงสว่างก็ต้องมีเงาควบอยู่ด้วย และแสงเงาทำให้เรามองเห็นวัตถุที่ผิวสีเดียวกันมีน้ำหนักแตกต่างกัน เช่น วัตถุสีขาวส่วนที่ถูกแสงจะเป็นสีขาวสว่างจ้า แต่ส่วนที่ไม่ถูกแสงจะขาวหม่น ทั้งที่วัตถุนั้นก็เป็นสีขาวเท่ากันตลอดพื้นผิว
     เมื่อธรรมชาติของแสงเงาให้ผลที่มองเห็นเช่นนี้ ผู้เขียนจำต้องเข้าใจการจัดน้ำหนักอ่อนแก่ให้ได้ใกล้เคียงกับน้ำหนักของแสงที่ตกกระทบผิววัตถุ เพราะความแตกต่างของน้ำหนักทำให้เกิดความรู้สึกที่ต่างกันไปได้ เช่น น้ำหนักสีที่อ่อนให้ความรู้สึกเบา น้ำหนักสีที่แก่ทำให้ดูแล้วรู้สึกหนัก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดระยะต่างๆ ในการมองเห็น ตลอดจนความรู้สึกด้านความงามในทางศิลปะ


4.รูปร่าง-รูปทรง (Shape-Form)
ความหมายและความสัมพันธ์ของรูปร่าง-รูปทรง   ประเภทของรูปร่าง-รูปทรง



 ความหมายและความสัมพันธ์ของรูปร่าง-รูปทรง

ความหมายของรูปร่าง-รูปทรง
   รูปร่าง (Shape)คือ รูปแบน ๆ มี 2 มิติ มีความกว้างกับความยาว ไม่มีความหนาเกิดจากเส้นรอบนอกที่แสดงพื้นที่ขอบเขตของรูปต่างๆ
เช่น รูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม หรือ รูปอิสระ ที่แสดงเนื้อที่ของผิวที่เป็นระนาบมากกว่าแสดงปริมาตรหรือมวล

   รูปทรง (Form) คือ รูปที่ลักษณะเป็น 3 มิติ โดยนอกจากจะแสดง ความกว้าง ความยาวแล้ว ยังมีความลึก หรือความหนา นูน ด้วย
    เช่น รูปทรงกลม  ทรงสามเหลี่ยม ทรงกระบอก เป็นต้น ให้ความรู้สึกมีปริมาตร ความหนาแน่น มีมวลสาร ที่เกิดจากการใช้ค่าน้ำหนัก
 หรือการจัดองค์ประกอบของรูปทรง หลายรูปรวมกัน

 ความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรง
    เมื่อนำรูปทรงหลาย ๆ รูปมาวางใกล้กัน รูปเหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์ดึงดูด หรือผลักไสซึ่งกันและกัน การประกอบกันของรูปทรงอาจทำได้โดย
 ใช้รูปทรงที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน รูปทรงที่ต่อเนื่องกัน รูปทรงที่ซ้อนกัน รูปทรงที่ผนึกเข้าด้วยกัน รูปทรงที่แทรกเข้าหากัน รูปทรงที่สานเข้าด้วยกัน
หรือ รูปทรงที่บิดพันกัน การนำรูปเรขาคณิต รูปอินทรีย์ และรูปอิสระมาประกอบเข้าด้วยกัน จะได้รูปลักษณะใหม่ ๆ อย่างไม่สิ้นสุด



5.พื้นผิว (Texture)



 ความหมายของพื้นผิว
         พื้นผิว หมายถึง ลักษณะของบริเวณผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ ที่เมื่อสัมผัสแล้วสามารถรับรู้ได้ว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น หยาบ เรียบ มัน ด้าน เป็นต้น
.
ลักษณะที่สัมผัสได้ของพื้นผิว มี  2  ประเภท คือ
 
    1. พื้นผิวที่สัมผัสได้ด้วยมือ หรือกายสัมผัส เป็นลักษณะพื้นผิวที่เป็นอยู่จริง ๆ ของผิวหน้าของวัสดุนั้นๆ ซึ่งสามารถสัมผัสได้จากงานประติมากรรม
        งานสถาปัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ
    2. พื้นผิวที่สัมผัสได้ด้วยสายตา จากการมองเห็นแต่ไม่ใช่ลักษณะที่แท้จริงของผิววัสดุนั้น ๆ เช่น การวาดภาพก้อนหินบนกระดาษจะให้ความรู้สึก
        เป็นก้อนหิน แต่มือสัมผัสเป็นกระดาษ  หรือใช้กระดาษพิมพ์ลายไม้ หรือลายหินอ่อน  เพื่อสร้างพื้นผิวลวงตาให้สัมผัสได้ด้วยการมองเห็นเท่านั้น
 
         พื้นผิวลักษณะต่าง ๆ จะให้ความรู้สึกต่องานศิลปะที่แตกต่างกัน พื้นผิวหยาบจะให้ความรู้สึกกระตุ้นประสาท หนักแน่น มั่นคง แข็งแรง ถาวร
ในขณะที่ผิวเรียบจะให้ความรู้สึกเบาสบาย การใช้ลักษณะของพื้นผิวที่แตกต่างกัน  เห็นได้ชัดเจนจากงานประติมากรรม และมากที่สุดในงานสถาปัตยกรรม
ซึ่งมีการรวมเอาลักษณะต่างๆ กันของพื้นผิววัสดุหลายๆ อย่าง เช่น อิฐ  ไม้ โลหะ  กระจก  คอนกรีต หิน ซึ่งมีความขัดแย้งกัน แต่สถาปนิกได้นำมา

ผสมกลมกลืนได้อย่างเหมาะสม ลงตัวจนเกิดความสวยงาม









เรื่องที่ 6 ความหมายของศิลปะ

   ศิลปะ (Art) เป็นคำที่มีความหมายทั้งกว้างและจำเพาะเจาะจง
แล้วแต่ทัศนะของนักปราชญ์แต่ละคน แต่ละสมัยที่จะกำหนดแนวความคิดของศิลปะให้แตกต่างกันออกไป
หรือแล้วแต่ว่าจะมีใครนำคำว่าศิลปะนี้ไปใช้ในแวดวงที่กว้างหรือจำกัดอย่างไร

*     ความหมายของศิลปะในวงกว้าง

          ในสมัยโบราณ นักปราชญ์ได้ให้ความหมายของศิลปะ(Art) ไว้ว่า ศิลป คือ “สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (Artifact) เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ” ดังนั้นตามความหมายนี้ ตะวันตกดินที่เราว่างดงามจึงไม่ใช่ศิลปะ อาจมีคุณค่าทางความงามแต่ก็ไม่ใช่ศิลปะ เพราะเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ แต่ภาพเขียนหรือหินที่สลักขึ้น แม้ว่าจะมีรูปร่าง “น่าเกลียด” อย่างไร ก็นับเป็นศิลปะ เพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น


  ความหมายของศิลปะในวงแคบ  

     1. หมายถึง เฉพาะงานทัศนศิลป์เท่านั้น ซึ่งใช้การมองเห็นเป็นปัจจัยในการรับรู้ คำว่า ศิลปิน (Artist) ที่นิยมใช้กันอยู่โดยทั่วไปทุกวันนี้
ส่วนมากก็จะหมายถึงผู้สร้างงานทัศนศิลป์ เราไม่เรียกผู้ทำงานศิลปะในสาขาอื่นว่า ศิลปิน เราใช้คำว่า สถาปนิก นักประพันธ์ นักดนตรี นักแสดง 
แต่เราเรียกจิตรกร ประติมากร และศิลปินภาพพิมพ์ ว่า ศิลปิน
      2. หมายถึง ความมีคุณภาพ หรือคุณค่าทางศิลปะของผลงาน เช่น นักวิจารณ์บางคนจะแสดงความเห็นต่องานศิลปะชิ้นหนึ่งว่า 
“รูปนี้ไม่ใช่ศิลปะ”หรือ “ประติมากรรมชิ้นนี้เป็นศิลปะที่แท้จริง”เป็นต้น ซึ่งก็หมายความว่า “รูปนี้ไม่มีคุณค่าพอเพียงทางศิลปะ”หรือ 
“ประติมากรรมชิ้นนี้มีคุณค่าทางศิลปะสูง”นั่นเอง

               ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า.. "ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความงาม และความพึงพอใจ"



เรื่องที่ 5 เรื่องความหมายและความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์



เรื่องความหมายและความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์    

           มนุษย์เรารับรู้ถึงความสวยความงาม ความพอใจ ของสิ่งต่างๆได้แตกต่างกับ ระดับความพอใจของแต่ละบุคคล
ก็แตกต่างกันออกไปทั้งนี้อาจขึ้นกับรสนิยม สภาพสังคม ศาสนา ความเชื่อและสิ่งแวดล้อมที่ผู้รับรู้นั้นดำรงชีวิตอยู่
หากแต่ว่าผู้รับรู้นั้นได้เข้าใจถึงกระบวนการ องค์ประกอบและพื้นฐานที่สำคัญของสิ่งที่ได้สัมผัส ก็ย่อมทำให้รับรู้ถึงความงาม

 ความพอใจนั้นๆเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง            

           ศิลปะนั้นดูเหมือนว่าจะไม่มีกฎเกณฑ์อะไรมากนัก เพราะอาศัยแต่ความสุนทรียะทางอารมณ์เพียงประการเดียว
แต่หากว่าได้ศึกษาถึงความสุนทรียะอย่างลึกซึ้งแล้ว จะเห็นว่ามันมีกฎเกณฑ์ในตัวของมันเอง ซึ่งผู้เรียนจะต้องศึกษาถึง
องค์ประกอบต่างๆเหล่านั้นที่ประกอบกันขึ้นเป็นงานศิลปะ  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือผู้เรียนจะต้องเข้าใจในหลัก
องค์ประกอบของศิลปะ เป็นพื้นฐานเสียก่อนจึงจะสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะที่มีคุณค่าและรับรู้ถึงความงามทางศิลปะ
ได้อย่างถูกต้อง            

1. ความหมายขององค์ประกอบศิลป์    องค์ประกอบของศิลปะหรือ(Composition )นั้นมาจากภาษาละติน

โดยคำว่า Post นั้นหมายถึง การจัดวาง และคำว่า Comp หมายถึง เข้าด้วยกัน ซึ่งเมื่อนำมารวมกันแล้วในทางศิลปะ

 Composition จึงหมายความถึง องค์ประกอบของศิลปะ การจะเกิดองค์ประกอบศิลป์ได้นั้น ต้องเกิดจากการเอาส่วน

ประกอบของศิลปะ (Element of Art) มาสร้างสรรค์งานศิลปะเข้าด้วยหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ (Principle of Art)

จึงจะเป็นผลงานองค์ประกอบศิลป์  ความหมายขององค์ประกอบศิลป์นั้นได้มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายเอาไว้

ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้              
             

          คำว่าองค์ประกอบ ตามความหมายพจนานุกรมราชบัณฑิยสถานคือ ส่วนต่างๆที่ประกอบกันทำให้เกิดรูปร่างใหม่ขึ้นโดยเฉพาะ
           

          องค์ประกอบศิลป์ หมายถึง สิ่งที่ศิลปินและนักออกแบบใช้เป็นสื่อในการแสดงออกและสร้างความหมาย

โดยนำมาจัดเข้าด้วยกันและเกิดรูปร่างอันเด่นชัด (สวนศรี   ศรีแพงพงษ์ : 82)


          องค์ประกอบศิลป์หมายถึง เครื่องหมายหรือรูปแบบที่นำมาจัดรวมกันแล้วเกิดรูปร่างต่างๆ ที่แสดงออกในการสื่อ

ความหมายและความคิดสร้างสรรค์ (สิทธิศักดิ์   ธัญศรีสวัสดิ์กุล : 56)


          องค์ประกอบศิลป์ หมายถึงศิลปะที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดหรือความงาม

ซึ่งประกอบด้วย ส่วนที่มนุษย์สร้างขึ้นและส่วนที่เป็นการแสดงออกอันเป็นผลที่เกิดจากโครงสร้างทางวัตถุ

(ชลูด   นิ่มเสมอ :18)
           

          องค์ประกอบศิลป์หมายถึง ส่วนประกอบต่างๆของศิลปะ เช่น จุด เส้น รูปร่าง ขนาด สัดส่วน น้ำหนัก แสง เงา

ลักษณะพื้นผิว ที่ว่างและสี (มานิต  กรินพงศ์:51)


          องค์ประกอบศิลป์คือความงาม ความพอดี ลงตัว อันเป็นรากฐานเนื้อหาของศิลปะ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญ

ทางศิลปะให้ผู้สร้างสรรค์ได้สื่อสารความคิดของตนเองไปสู่บุคคลอื่น (สุชาติ เถาทอง,สังคม  ทองมี,ธำรงศักดิ์  ธำรงเลิศ

ฤทธิ์,รอง  ทองดาดาษ: 3)


              จากความหมายต่างๆข้างต้น พอสรุปได้ว่า องค์ประกอบศิลป์ หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ใช้เป็นสื่อ

ในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ โดยนำส่วนประกอบของศิลปะมาจัดวางรวมกันอย่างสอดคล้องกลมกลืนและมีความหมาย

เกิดรูปร่างหรือรูปแบบต่างๆอันเด่นชัด


              ซึ่งจากความหมายข้างต้น จะเห็นได้ว่าการที่จะเกิดผลงานศิลปะดีๆสักชิ้นนั้นผู้สร้างสรรค์จะต้องใช้กระบวนการ

ที่หลากหลายมาประกอบกันได้แก่ องค์ประกอบพื้นฐานทางศิลปะ องค์ประกอบของศิลปะ และการจัดองค์ประกอบ

ของศิลปะ มาถ่ายทอดลงในชิ้นงานหรือผลงานนั้นๆเพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณค่าทั้งด้านความงามและมีคุณค่าทางจิตใจ

อันเป็นจุดหมายสำคัญที่ศิลปินทุกคนมุ่งหวังให้เกิดแก่ผู้ชมทั้งหลาย


2.ความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์    ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในสาขาต่างๆไม่ว่าจะเป็นสาขาวิจิตรศิลป์

หรือประยุกต์ศิลป์ ผู้สร้างสรรค์นั้นต้องมีความรู้เบื้องต้นด้านศิลปะมาก่อน และศึกษาถึงหลักการองค์ประกอบพื้นฐาน

องค์ประกอบที่สำคัญ การจัดวางองค์ประกอบเหล่านั้น รวมถึงการกำหนดสี ในลักษณะต่างๆเพิ่มเติมให้เกิดความเข้าใจ

เพื่อเวลาที่สร้างผลงานศิลปะ จะได้ผลงานที่มีคุณค่า ความหมายและความงามเป็นที่น่าสนใจแก่ผู้พบเห็น

หากสร้างสรรค์ผลงานโดยขาดองค์ประกอบศิลป์ ผลงานนั้นอาจดูด้อยค่า หมดความหมายหรือไม่น่าสนใจไปเลย

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบศิลป์นั้นมีความสำคัญอย่างมากในการสร้างงานศิลปะ      

มีนักการศึกษาด้านศิลปะหลายท่านได้ให้ทรรศนะในด้านความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์ที่มีต่อการสร้างงานศิลปะไว้

พอจะสรุปได้ดังนี้
               

          การสร้างสรรค์งานศิลปะให้ได้ดีนั้น ผู้สร้างสรรค์จะต้องทำความเข้าใจกับองค์ประกอบศิลป์เป็นพื้นฐานเสียก่อน

ไม่เช่นนั้นแล้วผลงานที่ออกมามักไม่สมบูรณ์เท่าไรนักซึ่งองค์ประกอบหลักของศิลปะก็คือรูปทรงกับเนื้อหา

(ชลูด  นิ่มเสมอ)
                           
          องค์ประกอบศิลป์เป็นเสมือนหัวใจดวงหนึ่งของการทำงานศิลปะ เพราะในงานองค์ประกอบศิลป์หนึ่งชิ้น
จะประกอบไปด้วย การร่างภาพ(วาดเส้น) การจัดวางให้เกิดความงาม (จัดภาพ) และการใช้สี(ทฤษฎีสี)
ซึ่งแต่ละอย่างจะต้องเรียนรู้สู่รายละเอียดลึกลงไปอีก องค์ประกอบศิลปืจึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่รวบรวมความรู้หลายๆอย่างไว้
ด้วยกัน จึงต้องเรียนรู้ก่อนที่จะศึกษาในเรื่องอื่นๆ (อนันต์   ประภาโส)
               
          องค์ประกอบศิลป์  การจัดองค์ประกอบและการใช้สี เป็นหลักการที่สำคัญในการสร้างสรรค์ให้งานศิลปะ

เกิดความงาม ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม วาดเขียน ประติมากรรม สถาปัตยกรรมและการพิมพ์ภาพ หากปราศจากความรู้

ความเข้าใจเสียแล้วผลงานนั้นๆก็จะไม่มีค่าหรือความหมายใดๆเลย  (สวนศรี    ศรีแพงพงษ์)                              
                 
          องค์ประกอบศิลป์จัดเป็นวิชาที่มีความสำคัญสำหรับผู้ศึกษางานศิลปะ หากว่าขาดความรู้ความเข้าใจในวิชานี้แล้ว

ผลงานที่สร้างขึ้นมาก็ยากที่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานศิลปะสมัยใหม่ที่มีการแสดงเฉพาะ เส้น สี แสง เงา

น้ำหนัก พื้นผิว จังหวะ และบริเวณที่ว่าง มีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องนำหลักการองค์ประกอบศิลป์มาใช้

         หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์มีความวำคัญและเกี่วข้องกับงานทัศนศิลป์โดยตรง ทั้งวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์

การจัดภาพหรือออกแบบสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ให้เกิดคุณค่าความงามนั้น การจัดองค์ประกอบศิลป์จะมีบทบาทสำคัญ

มากที่สุด (จีรพันธ์   สมประสงค์: 15)                              
             

          จากทรรศนะต่างๆ สรุปได้ว่า องค์ประกอบศิลป์เป็นหัวใจสำคัญของงานศิลปะทุกสาขา  เพราะงานศิลปะใดหากขาด

การนำองค์ประกอบศิลป์ไปใช้ ก็จะทำให้งานนั้นดูไม่มีคุณค่า ทั้งด้านทางกายและทางจิตใจของผู้ดูหรือพบเห็นขณะเดียวกัน

ก็จะบ่งบอกถึงภูมิความรู้ ความสามารถของผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้นด้วย                              

          การที่จะเข้าถึงศิลปะ(Appreciation) นั้น จะต้องผ่านการฝึกฝนและหาทางดูเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ทั้งจะต้องมี

รสนิยมที่ดีพอสมควร การฝึกฝน การทำซ้ำๆอย่างสนใจ เมื่อนานเข้าก็จะเกิดความเข้าใจ ทำด้วยความคุ้นเคยกับสิ่งเหล่านั้น

จึงจะเข้าใจ รู้เห็นในคุณค่าของศิลปะนั้นๆได้ดี


องค์ประกอบพื้นฐานด้านนามธรรมของศิลปะ

          องค์ประกอบพื้นฐานด้านนามธรรมของศิลปะ เป็นแนวคิด หรือจุดกำเนิดแรกที่ศิลปินใช้เป็นสิ่งกำหนดทิศทาง

ในการสร้างสรรค์ ก่อนที่จะมีการสร้างผลงานศิลปะ ประกอบด้วย เนื้อหากับเรื่องราว

1.เนื้อหาในทางศิลปะ   คือ ความคิดที่เป็นนามธรรมที่แสดงให้เห็นได้โดยผ่านกระบวนการทางศิลปะ เช่น

ศิลปินต้องการเขียนภาพที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชนบท ก็จะแสดงออกโดยการเขียนภาพทิวทัศน์ของชนบท

หรือภาพวิถีชิวิตของคนในชนบทเป็นต้น

2.เรื่องราวในทางศิลปะ    คือส่วนที่แสดงความคิดทั้งหมดของศิลปินออกมาเป็นรูปธรรมด้วยกระบวนการทางศิลปะ

เช่นศิลปินเขียนภาพชื่อชาวเขา ก็มักแสดงรูปเกี่ยวกับวิถีชีวิต หรือกิจกรรมส่วนหนึ่งของชาวเขา นั่นคือเรื่องราว

ที่ปรากฏออกมาให้เห็น

          ประเภทของความสัมพันธ์ของเนื้อหากับเรื่องราวในงานทัศนศิลป์นั้น เนื้อหากับเรื่องราวจะมีความสัมพันธ์กัน

น้อยหรือมาก หรืออาจไม่สัมพันธ์กันเลย หรืออาจไม่มีเรื่องเลยก็เป็นไปได้ทั้งนั้น โดยขึ้นกับลักษณะของงาน และเจตนา

ในการแสดงออกของศิลปิน ซึ่งเราสามารถแยกได้ดังต่อไปนี้คือ

(1) การเน้นเนื้อหาด้วยเรื่อง

(2) เนื้อหาที่เป็นผลจากการผสมผสานกันของศิลปินกับเรื่อง

(3) เนื้อหาที่เป็นอิสระจากเรื่อง

(4) เนื้อหาไม่มีเรื่อง

             
          1. การเน้นเนื้อหาด้วยเรื่อง ได้แก่ การใช้เรื่องที่ตรงกับเนื้อหา และเป็นตัวแสดงเนื้อหาของงานโดยตรง

ตัวอย่างเช่น เมื่อศิลปินต้องการให้ความงามทางด้านดอกไม้เป็นเนื้อหาของงาน เขาก็จะหาดอกไม้ที่สวยงามมาเป็นเรื่อง

สีสันและความอ่อนช้อยของกลีบดอกจะช่วยให้เกิดความงามขึ้นในภาพ

          2.  เนื้อหาที่เป็นผลจากการผสมผสานระหว่างศิลปินกับเรื่อง  ในส่วนนี้ศิลปินจะเสนอความเห็นส่วนตัว หรือผสม

ความรู้สึกส่วนตัวเข้าไปในเรื่อง เป็นการผสมกันระหว่างรูปลักษณะของเรื่องกับจินตนาการของศิลปิน เช่นเรื่องความงาม

ของดอกไม้ โดยศิลปินผสมความรู้สึกนึกคิดของตนเองลงไปในเรื่องด้วย เขาจะดัดแปลง เพิ่มเติมรูปร่างของดอกไม้

ให้งามไปตามทัศนะของเขาและใช้องค์ประกอบทางศิลปะเป็นองค์ประกอบทางรูปทรงให้สอดคล้องกับความงามของเรื่อง

           
          3.  เนื้อหาที่เป็นอิสระจากเรื่อง   เมื่อศิลปินผสมจินตนาการของตนเองเข้าไปในงานมากขึ้น ความสำคัญของเรื่อง

จะลดลง ดอกไม้ที่สวยที่เป็นแบบอาจถูกศิลปินตัดทอนขัดเกลา หรือเปลี่ยนแปลงมากที่สุด จนเรื่องดอกไม้

นั้นหมดความสำคัญไปอย่างสิ้นเชิง เหลือแต่เนื้อหาที่เป็นอิสระ การทำงานแบบนี้ศิลปินอาศัยเพียงเรื่อง เป็นจุดเริ่มต้นแล้ว

เดินทางห่างออกจากเรื่องจนหายลับไป เหลือแต่รูปทรงและตัวศิลปินเองที่เป็นเนื้อหาของงาน กรณีนี้เนื้อหาภายในซึ่ง

หมายถึงเนื้อหาที่ที่เกิดขึ้นจากการประสานกันของรูปทรงจะมีบทบาทมากกว่าเนื้อหาภายนอก หรือบางครั้งจะไม่แสดงเนื้อหา

ภายนอกออกมาเลย

             
          4. เนื้อหาไม่มีเรื่อง ศิลปินบางประเภท ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เรื่องเป็นจุดเริ่มต้น งานของเขาไม่มีเรื่อง มีแต่รูปทรง

กับเนื้อหา โดยรูปทรงเป็นเนื้อหาเสียเองโดยตรง เป็นเนื้อหาภายในล้วนๆ เป็นการแสดงความคิด อารมณ์ และบุคลิกภาพ

ของศิลปินแท้ๆ ลงไปในรูปทรงที่บริสุทธิ์ งานประเภทนี้จะเห็นได้ชัดในดนตรีและงานทัศนศิลป์ที่เป็นนามธรรม

และแบบนอนออบเจคตีฟ

             
         องค์ประกอบพื้นฐานด้านรูปธรรมของศิลปะองค์ประกอบพื้นฐานด้านรูปธรรมของศิลปะ คือสิ่งที่แสดงแนวดิดเกี่ยวกับ

เนื้อหาและเรื่องราวของศิลปินให้เห็นหรือรับรู้ผ่านผลงานศิลปะ ประกอบด้วย เอกภาพ ดุลยภาพ และจุดเด่น

 
1.   เอกภาพหมายถึงการนำองค์ประกอบของศิลปะมาจัดเข้าด้วยกันให้แต่ละหน่วยมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน

 ประสานกลมกลืนเกิดเป็นผลรวมที่แบ่งแยกไม่ได้ โดยถ่ายทอดเป็นผลงานศิลปะด้วยกระบวนการศิลปะ


2.   ดุลยภาพ คือการนำองค์ประกอบของศิลปะมาจัดเข้าด้วยกันให้เกิดความเท่ากันหรือสมดุล โดยมีเส้นแกนสมมุติ 2 เส้น

เป็นตัวกำหนดดุลยภาพเส้นแกนสมมุติจะทำหน้าที่แบ่งภาพออกเป็นด้านซ้านและด้านขวา หรือด้านบนและด้านล่าง

เพื่อให้ผลงานศิลปะที่ปรากฏเกิดความสมดุลในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่นแบบซ้ายขวาเหมือนกันและแบบซ้าย ขวา ไม่

เหมือนกัน

3.   จุดเด่น คือ ส่วนที่สำคัญในภาพ มีความชัดเจนสะดุดตาเป็นแห่งแรก รับรู้ได้ด้วยการมองผลงานที่สำเร็จแล้ว

จุดเด่นจะมีลักษณะการมีอำนาจ ตระหง่าน ชัดเจนกว่าส่วนอื่นทั้งหมด โดยเกิดจากการเน้นให้เด่นในลักษณะใดลักษณะนึ่ง

เช่น จุดเด่นที่มีความเด่นชัด หรือจุดเด่นที่แยกตัวออกไปให้เด่น

เรื่องที่ 4 ภาพผลงาน ออกแบบนิเทศศิลป์

ภาพผลงาน ออกแบบนิเทศศิลป์





















เรื่องที่ 3 คำว่า"นิเทศศิลป์"หมายถึงอะไร

คำว่า"นิเทศศิลป์"หมายถึงอะไร
ความหมายของนิเทศศิลป์
คำว่า นิเทศศิลป์ (Visual Communication Art) มาจากคำ ในภาษาสันสกฤต จำนวนสองคำมาสมาสกัน คือ นิเทศ+ศิลป์ หากจะแปลตามศัพท์ จากพจนานุกรม ก็จะแปลได้ดังนี้

นิเทศ (นิรเทศ,นิทเทศ)น.คำแสดงคำจำแนกออก,ก.ชี้แจง,แสดง,จำแนก,นำเสนอ
ศิลป์์ (ศิลปะ) น.ฝีมือทางการช่าง ,การแสดงออกซึ่งอารมณ์ ให้ประจักษ์ ดังใจนึก
เมื่อนำมารวมกันก็อาจได้ความหมายดังนี้
นิเทศศิลป์์ หมายถึง งานศิลปะเพื่อการชี้แจงแสดง การนำเสนอให้ปรากฎ ในรูปแบบต่างๆ ผ่านการมองเห็นเป็นสำคัญ

เพื่อให้เข้าใจชัดเจนขึ้นควรพิจารณาจากรากศํพท์เดิมมาจาก ภาษาอังกฤษ คือ VisualCommunicationArt

Visual แปลว่า การมองเห็น
Communication แปลว่า การสื่อสาร มาจากคำว่า communis หรือ commones ซึ่งแปลว่า ร่วมกัน หรือเหมือนกัน


นั่นคือ การสื่อสาร มุ่งที่จะให้ความคิด ความเข้าใจของผู้อื่น ให้เหมือนกับ ความคิด ความเข้าใจของเรา หรือทำอย่างไรจึงจะ เอาความรู้สึกนึกคิด ของผู้อื่น ได้โดยให้มีความรู้สึกนึกคิด เช่นเดียวกับเราได้เพราะ ธรรมชาติมนุษย์ได้รับ ข่าวสาร อย่างเดียวกันมา แต่จะมีความเข้าใจ และความรู้สึกนึกคิด แตกต่างกันออกไป การสื่อสาร ที่ดีก็ต้องมีการวางแผน ในที่น Communication Art ก็อาจแปลได้ว่า ศิลปะ ที่ใช้ในการสื่อสารร่วมกัน ระหว่างบุคคลในสังคมโดยผ่านการมองเห็น เป็นสำคัญ บุคคลที่รวมกันอยู่ ในสังคมย่อมต้องมีการติดต่อสื่อสาร กันตลอดเวลา ทำให้ทุกวันนี้ งานนิเทศศิลป์ ได้เข้ามามีบทบาท ต่อชีวิตประจำวัน ในสังคมมากขึ้นและ หากดูขอบข่าย และโครงสร้าง ของงานนิเทศศิลป์แล้ว ก็จะเห็นชัดเจนว่า นิเทศศิลป์มีความสำคัญ ต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมปัจจุบัน นอกเหนือจากปัจจัยอื่นของชีวิต ที่มีอยู่เดิม

กระบวนการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีชื่อย่อว่า S M C R 
งานนิเทศศิลป์ จะเกี่ยวข้องกับ สาร (Message) และ ช่องทาง (Channel)
โดยการใช้ศิลปะเพื่อพัฒนา”สาร” และเลือก”ช่องทาง” หรือสื่อที่เหมาะสม

งานออกแบบนิเทศศิลป์์์ (Visual Communication Art) นอกจาก จะเกี่ยวข้องกับการสื่อสารแล้ว ยังต้องเกี่ยวข้อง กับวิชาการสาขาต่าง ๆ อีกก็คือ จิตวิทยา ธุรกิจ เทคโนโลยี กระบวนการสร้างสรรค์ และศิลปะ ดังโครงสร้างต่อไปนี้

องค์ประกอบของการออกแบบนิเทศศิลป์

จากโครงสร้างจะเห็นว่า ศิลปะ เเป็นวิชาการสาขาหนึ่ง ของงาน ออกแบบนิเทศศิลป์ เป็นสาขาที่สำคัญที่จะ ขาดเสียมิได้ และศิลปะในที่นี้ คือ ทัศนศิลป์ เพราะ นิเทศศิลป์เป็น การคิด และการสื่อสารด้วยภาพ จากจินตนาการ หรือจากภาพภายในความคิด ออกมาสู่การรับรู้ของบุคคล ผู้รับสาร โดยผ่านทางจักษุประสาทเป็นสำคัญ และการสร้างงานศิลปะ จะเป็นการรวม เอาความคิดรวบยอดจาก สาขาวิชาการอื่น ๆ ตามโครงสร้างดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์ ดังเสนอโดยผัง ต่อไปนี้

  


กระบวนการคิด เพื่อสื่อสารด้วยทัศนศิลป์ ออกมาเป็นงานออกแบบนิเทศศิลป์

โครงสร้างและขอบข่ายของนิเทศศิลป

ดังกล่าวแล้วว่า นิเทศศิลป์ เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ทางการมองเห็น (Visual Communication) เพราะเป็นการสื่อสาร ไปยังผู้รับสารด้วยภาพเป็นสำคัญ (Visual Image) แม้จะมี บางองค์ประกอบจะมีการสื่อสารทางเสียง มาประกอบก็ตาม แต่สื่อหลัก ก็ยังเป็นการ สื่อสารด้วยภาพ โดยเสียงเป็นตัวเสริมให้ภาพนั้นสมบูรณ์ขึ้น ทั้งนี้เพราะการรับรู้ของ มนุษย์เรานั้น รับรู้จาก จักษุประสาทมากที่สุด (รับรู้ทางตา 83% หู11%) งานออกแบบนิเทศศิลป์สามารถจำแนกออก ตามสื่อที่ปรากฎได้ 3 ด้าน ดังนี้

งานออกแบบนิเทศศิลป์ปรากฎตามสื่อการพิมพ์์
หมายถึงงานขั้นสุดท้าย ที่เป็น ตัวสื่อสาร ถึงผู้รับ ผ่านกระบวนการพิมพ์ ออกมา เช่น

- หนังสือพิมพ์ (Newspaper)
- นิตยสาร (Magazine)
- วารสาร (Periodical)
- หนังสือ (Book)
- ภาพโฆษณา (Poster)
- เครื่องหมายและการค้า (Trademark & Logo)
- ตราสัญลักษณ์ (Logo)
- บรรจุภัณฑ์ (Packaging)
- สิ่งพิมพ์ทั่วไป (General printed matter)













   



เรื่องที่ 2 สีโทนร้อน,สีโทนเย็น,องค์ประกอบสี

สีโทนร้อน,สีโทนเย็น,องค์ประกอบสี

โครงสีร้อน

โครงสีร้อน หมายถึง ชุดสีที่ประกอบด้วย สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีแดง และสีม่วงแดง สีวรรณะร้อนให้ความรู้สึกตื่นตา มีพลัง อบอุ่น สนุกสนาน และดึงดูดความสนใจได้ดี โครงสีร้อนนี้สภาพโดยรวมจะมีความกลมกลืนของสีมากควรมีสีเย็นมาประกอบบ้างทำให้ภาพมีความน่าสนใจมากขึ้น



ตัวอย่างภาพสีโทนร้อน



   

โครงสีเย็น

โครงสีเย็น หมายถึง ชุดสีที่ประกอบด้วยสีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน และสีม่วงน้ำเงิน โครงสีเย็นให้ความรู้สึกสุภาพ สงบ ลึกลับ เยือกเย็น ในทางจิตวิทยาสีเย็นมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกหดหู่ เศร้า โครงสีเย็นควรมีสีร้อนแทรกบ้างจะทำให้ผลงานดูน่าสนใจมากขึ้น

  

สรุป

วรรณะร้อน ( warm tone) ซึ่งประกอบด้วย สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีม่วง สีม่วงแดง สีเหล่านี้ให้อิทธิพล ต่อความรู้สึก ตื่นเต้น เร้าใจ กระฉับกระเฉง ถือว่าเป็นวรรณะร้อน

วรรณะเย็น ( cool tone) ประกอบด้วย สีเขียวเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน สีเหล่านี้ดู เย็นตา ให้ความรู้สึก สงบ สดชื่น (สีเหลืองกับสีม่วงอยู่ได้ทั้งสองวรรณะ) การใช้สีแต่ละครั้งควรใช้สีวรรณะเดียวในภาพทั้งหมด เพราะจะทำให้ภาพความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (เอกภาพ) กลมกลืน มีแรงจูงใจให้คล้อยตามได้มาก


วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

เรื่องที่ 1 การออกแบบนิเทศศิลป์

การออกแบบนิเทศศิลป์
การสร้างความคิดและการแสดงออกของมนุษย์เกี่ยวกับการออก แบบ มีความแตกต่างกันไปตามศักยภาพในกระบวนการคิด และสติปัญญาของแต่ละบุคคล ทั้งนี้จะต้องสร้างสรรค์งานรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมา ภายใต้แรงบันดาลใจของผู้ออกแบบ โดยจะต้องคำนึงถึงความต้องการ ความสวยงาม ความกลมกลืนของรูปทรง สี รวมทั้งสะท้อนให้เห็นถึงรสนิยมที่มีจินตนาการ มีสีสัน สามารถเปลี่ยนแปลง และนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละด้าน เช่น สถาปัตยกรรม การตกแต่ง และงานวิจิตรศิลป์ เป็นต้น แต่โดยพื้นฐานสำคัญแล้ว จะต้องทำให้การออกแบบตกแต่งมีสุนทรียภาพและมีความสอดคล้องลงตัว ซึ่งผู้สร้างสรรค์ผลงานจะต้องเข้าใจถึงหลักการและเกิดความซาบซึ้งต่อผลงาน ทางศิลปะ หากปราศจากความรู้สึกเหล่านี้ ผลงานทางศิลปะจะมีขึ้นอย่างสมบูรณ์ไม่ได้

ความหมายและความสำคัญของการออกแบบ
           การออกแบบ หมายถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อประโยชน์และความงามด้วยการนำทัศนธาตุทางศิลปะและ หลักการจัดส่วนประกอบของงานออกแบบมาใช้ รวมไปถึงการปรับปรุงของเดิมที่มีอยู่แล้วดัดแปลงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ดังนั้น การสร้างสิ่งใดๆ ก็ตาม สิ่งแรกจะต้องเริ่มด้วย การออกแบบ อาจจะออกแบบโดยการคิด หรือมีความคิดอยู่ในสมอง ซึ่งเป็นแนวคิดของผู้สร้างเพียงคนเดียว และสามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ ซึ่งก็เป็นการออกแบบเหมือนกันแต่อาจจะยังไม่สมบูรณ์นัก การออกแบบที่ถูกต้องจะต้องสามารถให้มองเห็นแบบ อาจจะเป็นภาพหรือแบบจำลองที่มีขนาดสัดส่วนให้สามารถมองเห็นผลงานที่จะสร้าง ได้ชัดเจน
เมื่อวิเคราะห์ถึงความหมายและความสำคัญของการออกแบบแล้ว อาจสรุปสาระสำคัญของการออกแบบว่าจะมีลักษณะดังนี้
   

 ๑. ความสามารถในการปรับปรุงผลผลิตหรือผลงานที่มีอยู่เดิมให้แปลกใหม่มากขึ้น
๒. โครงสร้างของการออกแบบต้องคำนึงถึง
(๑) ต้องสอดคล้องกับประโยชน์และหน้าที่ของการใช้สอย
(๒) มีความกลมกลืน มัสัดส่วนที่เหมาะสม มัลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
(๓) มีความงดงามของโครงสร้างกับวัสดุ
(๔) มีความเรียบง่าย แข็งแรง เด่นชัด ทั้งนี้ต้องมีจินตนาการในการจัดองค์ประกอบคุณค่า และความมุ่งหมายของการออกแบบ   ๓. ความสามารถในการวางแผนดำเนินการให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้น ตั้งแต่การเลือกวัสดุตามคุณสมบัติให้สอดคล้องกับรูปแบบตามที่คิดสร้างสรรค์ ไว้ ๔. การใช้ประสบการณ์ ความชำนาญ และความรู้ การตอบสนองให้แก่ผู้บริโภคในด้านการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และรูปแบบมีความ งดงามตามประโยชน์ใช้สอย ๕. เพื่อให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของผลงานแต่ละยุคสมัยของศิลปะการออกแบบและแสดงศักยภาพความสามารถเฉพาะตัวของแต่ละคนในการออกแบบ







 แนวคิดในการออกแบบ
          การสร้างสรรค์ผลงานของมนุษย์นั้น มีสิ่งต่างๆ ที่เป็นส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดแนวคิดในการออกแบบ ซึ่งประกอบด้วยเรื่องดังต่อไปนี้
           ๑. ธรรมชาติ
๒. ประสบการณ์
๓. การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบ

หลักการออกแบบ
จุดมุ่งหมายของการออกแบบมุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก แต่ต้องคำนึงถึงความงามควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้เกิดความประทับใจ (Form Follow Function) ดังนั้น หลักการที่จะเป็นแนวทางสำหรับการออกแบบเพื่อให้มีคุณค่าทางความงาม จะต้องพิจารณาจากประเด็นต่อไปนี้
๑. โครงสร้างทั้งหมด
๒. ความเป็นเอกภาพ (Unity)
. ความสมดุล (Balance)
๔. ความกลมกลืน (Harmony)
. การเน้น (Emphasis)
๖. ความขัดแย้ง (Contrast)
๗. การซ้ำ (Repetition)
๘. จังหวะ (Rhythm)
๙ สัดส่วน (Proportion)

ประเภทของงานออกแบบ
การออกแบบประยุกต์ศิลป์ (Applied Art) เป็นงานศิลปะที่มุ่งเน้นการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และยึดเอาประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
๑. การออกแบบตกแต่ง (Decoration Design)
๒. การออกแบบพาณิชย์ศิลป์ (Commercial Design)
๓. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design)
๔. การออกแบบสื่อสาร (Communication Design)