วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

เรื่องที่ 1 การออกแบบนิเทศศิลป์

การออกแบบนิเทศศิลป์
การสร้างความคิดและการแสดงออกของมนุษย์เกี่ยวกับการออก แบบ มีความแตกต่างกันไปตามศักยภาพในกระบวนการคิด และสติปัญญาของแต่ละบุคคล ทั้งนี้จะต้องสร้างสรรค์งานรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมา ภายใต้แรงบันดาลใจของผู้ออกแบบ โดยจะต้องคำนึงถึงความต้องการ ความสวยงาม ความกลมกลืนของรูปทรง สี รวมทั้งสะท้อนให้เห็นถึงรสนิยมที่มีจินตนาการ มีสีสัน สามารถเปลี่ยนแปลง และนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละด้าน เช่น สถาปัตยกรรม การตกแต่ง และงานวิจิตรศิลป์ เป็นต้น แต่โดยพื้นฐานสำคัญแล้ว จะต้องทำให้การออกแบบตกแต่งมีสุนทรียภาพและมีความสอดคล้องลงตัว ซึ่งผู้สร้างสรรค์ผลงานจะต้องเข้าใจถึงหลักการและเกิดความซาบซึ้งต่อผลงาน ทางศิลปะ หากปราศจากความรู้สึกเหล่านี้ ผลงานทางศิลปะจะมีขึ้นอย่างสมบูรณ์ไม่ได้

ความหมายและความสำคัญของการออกแบบ
           การออกแบบ หมายถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อประโยชน์และความงามด้วยการนำทัศนธาตุทางศิลปะและ หลักการจัดส่วนประกอบของงานออกแบบมาใช้ รวมไปถึงการปรับปรุงของเดิมที่มีอยู่แล้วดัดแปลงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ดังนั้น การสร้างสิ่งใดๆ ก็ตาม สิ่งแรกจะต้องเริ่มด้วย การออกแบบ อาจจะออกแบบโดยการคิด หรือมีความคิดอยู่ในสมอง ซึ่งเป็นแนวคิดของผู้สร้างเพียงคนเดียว และสามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ ซึ่งก็เป็นการออกแบบเหมือนกันแต่อาจจะยังไม่สมบูรณ์นัก การออกแบบที่ถูกต้องจะต้องสามารถให้มองเห็นแบบ อาจจะเป็นภาพหรือแบบจำลองที่มีขนาดสัดส่วนให้สามารถมองเห็นผลงานที่จะสร้าง ได้ชัดเจน
เมื่อวิเคราะห์ถึงความหมายและความสำคัญของการออกแบบแล้ว อาจสรุปสาระสำคัญของการออกแบบว่าจะมีลักษณะดังนี้
   

 ๑. ความสามารถในการปรับปรุงผลผลิตหรือผลงานที่มีอยู่เดิมให้แปลกใหม่มากขึ้น
๒. โครงสร้างของการออกแบบต้องคำนึงถึง
(๑) ต้องสอดคล้องกับประโยชน์และหน้าที่ของการใช้สอย
(๒) มีความกลมกลืน มัสัดส่วนที่เหมาะสม มัลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
(๓) มีความงดงามของโครงสร้างกับวัสดุ
(๔) มีความเรียบง่าย แข็งแรง เด่นชัด ทั้งนี้ต้องมีจินตนาการในการจัดองค์ประกอบคุณค่า และความมุ่งหมายของการออกแบบ   ๓. ความสามารถในการวางแผนดำเนินการให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้น ตั้งแต่การเลือกวัสดุตามคุณสมบัติให้สอดคล้องกับรูปแบบตามที่คิดสร้างสรรค์ ไว้ ๔. การใช้ประสบการณ์ ความชำนาญ และความรู้ การตอบสนองให้แก่ผู้บริโภคในด้านการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และรูปแบบมีความ งดงามตามประโยชน์ใช้สอย ๕. เพื่อให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของผลงานแต่ละยุคสมัยของศิลปะการออกแบบและแสดงศักยภาพความสามารถเฉพาะตัวของแต่ละคนในการออกแบบ







 แนวคิดในการออกแบบ
          การสร้างสรรค์ผลงานของมนุษย์นั้น มีสิ่งต่างๆ ที่เป็นส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดแนวคิดในการออกแบบ ซึ่งประกอบด้วยเรื่องดังต่อไปนี้
           ๑. ธรรมชาติ
๒. ประสบการณ์
๓. การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบ

หลักการออกแบบ
จุดมุ่งหมายของการออกแบบมุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก แต่ต้องคำนึงถึงความงามควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้เกิดความประทับใจ (Form Follow Function) ดังนั้น หลักการที่จะเป็นแนวทางสำหรับการออกแบบเพื่อให้มีคุณค่าทางความงาม จะต้องพิจารณาจากประเด็นต่อไปนี้
๑. โครงสร้างทั้งหมด
๒. ความเป็นเอกภาพ (Unity)
. ความสมดุล (Balance)
๔. ความกลมกลืน (Harmony)
. การเน้น (Emphasis)
๖. ความขัดแย้ง (Contrast)
๗. การซ้ำ (Repetition)
๘. จังหวะ (Rhythm)
๙ สัดส่วน (Proportion)

ประเภทของงานออกแบบ
การออกแบบประยุกต์ศิลป์ (Applied Art) เป็นงานศิลปะที่มุ่งเน้นการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และยึดเอาประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
๑. การออกแบบตกแต่ง (Decoration Design)
๒. การออกแบบพาณิชย์ศิลป์ (Commercial Design)
๓. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design)
๔. การออกแบบสื่อสาร (Communication Design)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น